Download
วันนี้ มีวิธีล้างแอร์ด้วยตัวเอง ทำได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน มาฝากกัน
การล้างแอร์เป็นเรื่องง่ายๆ ที่หลายคนคิดไม่ถึง โดยปกติถ้าแอร์ไม่เย็น หรือเย็นน้อยลง เราก็จะคิดถึงแต่ช่างเพราะส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้ว่าจะทำอย่างไร แต่วันนี้เรามี วิธีล้างแอร์ง่ายๆ มาให้เพื่อนๆ ศึกษากันค่ะ ว่าแล้วเราไปดูวิธีกันเลยดีกว่า
วิธีล้างแอร์ด้วยตัวเอง ทำได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
ปั้มแรงดันสำหรับฉีดน้ำ, สายฉีดและหัวฉีด, โบว์เวอร์, เกรดวัดแรงดันน้ำยา, ประแจหกเหลี่ยม,หวีฟินคอยส์, ถังรองน้ำ
ขั้นตอนในการทำ
1. ก่อนอื่นปิดเบรกเกอร์ซะเพื่อที่จะตัดไฟฟ้าในวงจนออก
2. ถอดแผ่น FILTER แอร์ออกมา เอาน้ำก๊อกนี่หละครับล้างเบาๆ ถ้าผึ่งแดดได้จะดีมาก
3. ถอดหน้ากากแอร์ออกมา ถึงขั้นนี้คุณน่าจะเห็นแผงคอยล์เย็นที่อยู่ด้านในแล้ว
4. เอาขันน้ำมา 1 ใบ ใส่น้ำสักครึ่งขันเติมแฟ้บหรือน้ำยาล้างจานเติมลงไปเล็กน้อย
5. เอาแปรงสีฟันที่หมดสภาพการใช้งานมาแล้ว 1 อันเอาไฟแช๊กลนที่บริเวณด้ามจับค่อนๆ ไปทางหัวแปรง แล้วดัดให้งอพอเหมาะ
6. ขึ้นไปยืนหน้าคอยล์เย็น จัดท่าทางให้ทะมัดทะแมงจะยืนด้วยบันไดหรือยืนบนโต๊ะอะไรก็ตามถนัดเอาเป็นว่างานนี้ทำนานเลือกท่าให้ถนัดๆ
7. มือซ้ายถือขันมือขวาถือแปรง เอาแปรงสีฟันนั้นจุ่มลงในขันแล้วแปรงที่คอยล์เย็น วิธีแปรงคือแปรงลงตรงๆ จากบนลงล่าง ไม่ควรแปรงขึ้นลงให้แปรงลงสถานเดียว ห้ามเด็ดขาดคืออย่างแปรงไปมาซ้ายขวาซ้ายขวาเหมือนแปรงฟันเพราะครีบ (FIN) คอล์ยเย็นจะพับลงทำให้ ลมไม่ออกครับ ย้ำนะครับต้องใจเย็นๆ แปรงลง แปรงลง เท่านั้น ระหว่างที่แปรงนี้คราบดำๆ จะออกมาเป็นแถวๆ
8. ที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือครีบ(FIN) จะบาดหลังมือหรือนิ้ว
9. ส่วนใบพัดลมกรงกระรอกจะอยู่ลึกค่อนๆ ไปทางด้านหลังคอล์ยเย็นส่วนใหญ่จะล้วงๆ ควักๆ กันไม่ได้ ต้องรื้อถาดรองน้ำหยดจากคอล์ยเย็นออกมา ขั้นตอนนี้ใจเย็นๆ นะครับเวลาถอดจำไว้ด้วยถอดอะไรก่อนหลัง เดี๋ยวไม่งั้นตอนใส่ เอ๊ะทำไมนีอตมันเหลือว่ะ ฮ่าๆ
10. ถ้าคุณถอดถาดรองน้ำออกมาได้แล้วทีนี้ซี่พัดลมกรงกระรอกก็อยู่ไม่ไกลเกิน เอื้อมแล้วครับ เอาแท่งคอตตอนบัด จุ่มน้ำหรือแช่ให้ชุ่ม
แหย่เข้าไปในซี่พัดลมกรงกระรอกปาดไปซ้ายปาดไปทางขวาหลายๆ ครั้งแล้วลองดึงคอตตอนบัดออกมาดู ดำปี๋เลย เช็ดไปเรื่อยๆครับเมื่อยมือ หน่อยกว่าจะครบทุกซี่เพราะพัดลมกรงกระรอกมีร้อย กว่าใบ ทนเอาหน่อยครับก็ไม่เชื่อมือใครนี่ต้องล้างเองก็สนุกอย่างนี้หละ
11. แต่ถ้าแอร์คุณตันมากๆ ก็ต้องใช้น้ำแรงดันสูงฉีด แต่การล้างด้วยปั๊มนี้ต้องเตรียมงานเยอะครับ ต้องมีผ้าพลาสติกรองน้ำที่ไหลออกมาขณะล้าง ต้องมีถังใส่น้ำที่ล้างออกมา ต้องเอาถุงก๊อบแก๊บไปหุ้มชุดคอนโทรล โดยสรุปคือยุ่งกว่าแต่สะอาดถึงเนื้อในเชียวแหละ
มาดูเป็นคลิปกันบ้างเพื่อจะเข้าใจง่ายขึ้น
ทำไมน้ำยาแอร์ ไม่มีวันขาด จำง่ายๆ ไว้เลยคือ “ระบบน้ำยาแอร์ เป็นระบบปิด”
ระบบปิดหมายถึงอะไร ?
เอาง่ายๆ ไม่ต้องอธิบายศัพท์เทคนิคให้งง ระบบปิดก็คือ น้ำยาแอร์มันจะไม่มีทางหายไปไหนได้ ก็เพราะมันปิดอยู่ คิดภาพเหมือนเอาน้ำใส่ในกาละมังตั้งไว้ ถ้ากาละมังไม่รั่ว น้ำมันก็ยังอยู่แบบนั้นแหละ
ดังนั้น ถ้าแอร์ยังเย็นอยู่ ท่อน้ำไม่รั่ว ก็ไม่ต้องเติมน้ำยา
การเรียกช่างแอร์มา เสียค่าล้าง 500 แล้วช่างบอก น้ำยาขาด (มุขนี้ประจำ) ขาดกี่ปอนด์ๆ ต้องเติม ปอนด์ละกี่บาท แบบนี้คือ “คุณกำลังถูกหลอก”
มุขประจำของช่างแอร์
ที่ช่างมักชอบบอกว่า น้ำยาแอร์ขาดไป 20-30 ปอนด์นั้น ปอนด์ในที่นี่ไม่ใช่น้ำหนัก แต่เป็นหน่วยแรงดัน ปอนด์/ตารางนิ้ว ซึ่งช่างมักจงใจปล่อยน้ำยาออกตอนล้างแอร์ แล้วบอกว่าขาดไปเท่านี้ๆ แล้วคิดถูกๆ บอกว่า ปอนด์ละ 20 บาท รวมแล้วเติมไป 400-500 บาท แต่จริงๆ แล้วเขาใช้น้ำยาแอร์แค่ไม่เกิน 50 บาทในการเติมน้ำยาให้คุณ
แล้วถ้าเกิดแอร์รั่วจริงๆ ล่ะ ?
ถ้าแอร์รั่วจริงๆ ไม่ว่าจะรั่วรูเล็กรูใหญ่ก็ตาม น้ำยาจะหมดภายในวันเดียวหรือไม่กี่วัน แล้วแอร์ก็จะไม่เย็น ถ้าเจอแบบนี้ก็ต้องซ่อมท่อน้ำยา หารอยรั่วให้เจอ เชื่อมปะรู แว๊คท่อน้ำยา แล้วเติมน้ำยาแอร์ใหม่ทั้งหมด
สรุป สิ่งที่ควรจำ
ทุกครั้งที่เรียกช่างมาล้างแอร์ ถ้าแอร์เย็นอยู่ บอกช่างก่อนทุกครั้งว่า แอร์ยังเย็นอยู่ ไม่ต้องเช็คไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์