Download
กระจ่าง! นี่เป็นเหตุผลที่ทำไม "พิมพ์ ซาซ่า" เป็นมะเร็ง แต่ยัง สวยอยู่ (อ่านแล้วจะรู้เลย เข้าใจง่ายสุดใน 3 โลก)
หลังออกมาเปิดเผยเรื่องราวสุดช็อกสำหรับดาราสาว พิม พิมพ์มาดา ที่หายหน้าหายตาไปรักษาอาการป่วยมะเร็งรังไข่ระยะแรก ตั้งแต่เดือน ต.ค. ปีที่แล้ว โดยต้องทำคีโม 6 ครั้ง มีผลกระทบทำให้ร่างกายอ่อนแอและผมร่วง ตอนนี้ทำคีโมไปแล้ว 5 ครั้ง เหลือนัดทำคีโมครั้งสุดท้ายในวันที่ 1 มี.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งแพทย์ระบุว่าจะมีโอกาสหายถึง 90%
ทำเอาแฟนๆ ที่ทราบข่าวต่างส่งกำลังใจให้ สาวพิม เข้มแข็งมากมาย ซึ่งเจ้าตัวก็กำลังใจดีเยี่ยม หันมาดูแลตัวเอง ทั้งสุขภาพและอาหารการกิน ปฏิบัติธรรมภาวนาเป็นที่พึ่งทางใจ และยังเคยโพสต์บันทึกข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวหลังเข้าคอร์สเผชิญความตายกับพระอาจารย์ว่า...
"สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาฝากนะคะ พิมพ์มีความสุขมากกับการมาเข้าคอร์ส เผชิญความตาย ด้วยใจสงบ ในครั้งนี้ การเตรียมตัวตายไม่ใช่เป็นการแช่งตัวเองแต่อย่างใด แต่เตรียมพร้อมและยอมรับกับสิ่งที่เราทุกคนไม่มีวันหนีพ้น นั่นคือ ความตาย แต่จะตายแบบไหนเราฝึกได้ กราบพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล #หนูเลื่อมใสและศรัทธาในคำสอนของพระอาจารย์จริงๆ ค่ะ"
จะเห็นได้เลยว่าพิมพ์นั้น เป็นคนที่มีจิตใจแข็งแรง และกำลังใจดีมาก จึงทำให้เธอนั้นพิชิตโรคร้ายได้อยู่หมัด ซึ่งตรงกับคุณสมบัติ
จะทำอย่างไรให้หายจากโรคมะเร็ง
นอกเหนือไปจากการไปหาหมอตามนัด และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
- มีศรัทธาในชีวิตไว้เสมอ เชื่อมั่นในส่ิงที่ดีงาม จะทำให้เรามองโลกในแง่ดี จิตใจสบาย ไม่มีความเครียด ไม่มีความวิตกกังวล
- มีความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย มีใจสู้เสมอ ถ้าผู้ป่วยต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็พยายามปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอทุกวัน
- มีสติ รู้ตัวอยู่เสมอว่าทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไร ไม่พลั้งเผลอ ไม่วู่วาม ไม่วิตกกังวล ไม่โกรธง่าย
- ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป และต้องหายขาดจากโรคมะเร็งนี้ให้ได้ การตั้งใจเช่นนี้ จะทำให้มีกำลังใจดีในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
- มีปัญญา เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติของชีวิต เข้าใจในกฏแห่งธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีเกิด ก็ย่อมมีดับ รู้จักยอมรับในสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มีความหวังในสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ แต่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่แย่ที่สุดได้เสมอเช่นกัน
ทำให้สาวๆหลายคนยังวิตกกังวลว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับตนเองหรือไม่ มะเร็งรังไข่มีสาเหตุและจะมีอาการแบบไหน ว่าเเล้วไปทราบข้อมูลเบื้องต้นกันเลยดีกว่า
รังไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ อยู่สองข้าง ข้างซ้ายขวาของโพรงมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ มี 4 ระยะได้แก่ ระยะ 1 : เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในรังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง ระยะ 2 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่สู่อวัยวะในช่องเชิงกราน เช่น ท่อนำไข่ หรือมดลูก ระยะ เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่และช่องเชิงกราน ไปยังช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ระยะ 4 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่ไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด
สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่อาจยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็พบเหตุส่งเสริมที่อาจจะทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้ดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2. สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่อาจมีมากกว่าคนปกติ
มะเร็งรังไข่ ใครเสี่ยงบ้าง ?
นอกจากปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ที่อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ให้คุณสาว ๆ ได้ด้วย คือ
1. อายุ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีอายุเฉลี่ย 55 ปี หรือมากกว่า แต่ก็สามารถพบมะเร็งรังไข่ในเด็กหญิงก่อนหรือหลังวัย 10 ปี ได้เช่นกัน
2. ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีแม่ พี่สาว น้องสาว ยาย ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
3. การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) ในผู้ที่พบการกลายพันธุ์ของ 1 ใน 2 ยีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
4. รอยโรคมะเร็งเต้านม, ลำไส้ใหญ่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้
5. การคลอดบุตร ผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรอย่างน้อย 1 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน และการให้นมบุตร พบว่ามีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยลง
6. โรคอ้วน ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น
7. การใช้ฮอร์โมนทดแทน (HRT) บางการศึกษามีการเชื่อมโยงระหว่างฮอร์โมนทดแทน (HRT) และมะเร็งรังไข่ ซึ่งความเสี่ยงนี้ดู
อาการแสดงของมะเร็งรังไข่
ท้องอืดเป็นประจำ
มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง
ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก
เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด
เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง จึงอาจทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือน อ้วนขึ้นได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม
เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป
ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย
การรักษามะเร็งรังไข่
ยาเคมีบำบัด สำหรับมะเร็งรังไข่จะให้ยาเคมีทางช่องที่มีอวัยวะภายในช่องท้อง (peritoneal cavity) การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะและชนิดของมะเร็ง
การผ่าตัด อาจมีการผ่าตัดตั้งแต่แรกเพื่อดูระยะหรือการลุกลามของมะเร็ง ในกรณีผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะตัดเนื้องอกออกให้มากที่สุด ซึ่งการผ่าตัดส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
รังสีรักษา มีทั้งการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและการฝังแร่ในร่างกาย การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของมะเร็ง